โค้ดเมาส์

Winnie The Pooh Glitter

โค้ดเมาส์2

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

หัวใจชายหนุ่ม

เนื้อเรื่องย่อ
นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงเพื่อนชื่อ นายประเสริฐ  สุวัฒน์  ที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย ๑๘ ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษ
            การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้ และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อ แม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ  ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางชุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน
            ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง
            ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์และพ่อต้องจัดการแต่งงานทั้งๆที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนคร ทั้งๆที่เขามีภรรยาแล้วถึง ๗ คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน

            ครั้นประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดี เพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับ หลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก
            ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

วิเคราะห์วิจารณ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสนอแนวคิดผ่านตัวละครเอก คือประพันธ์ที่แสดงความรังเกียจดูถูกบ้านเกิด แต่กลับไปชื่นชมนิยมวัฒนธรรมตะวันตก พระองค์จึงมีพระดำริว่า คนไทยควรภูมิใจในวัฒนธรรมไทยไม่หลงนิยมวัฒนธรรมตะวันตกจนเกินไป จนละเลยความเป็นไทย ควรรู้จักเลือกสรรสิ่งที่เหมาะสมมาใช้เพื่อสร้างความเป็นไทยให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ดังนั้นแกนของเรื่อง คือการรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอันดีงามและในเวลาเดียวกันก็รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกบางประการมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
บทวิเคราะห์ตัวละคร ตัวละครทุกตัวในเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเสนอแนวคิดและสารต่างๆ โดยเสนอผ่านมุมมองของประพันธ์ซึ้งเป็นผู้เล่าเรื่องและตัวละครเหล่านี้ทำให้เรารู้จักตัวละครได้ลึกยิ่งขึ้น
๑) ประพันธ์ คือตัวแทนของหนุ่มไทยที่ไปศึกษาต่อต่างประเทศแล้วประทับใจ คลั่งไคล้วัฒนธรรมของประเทศนั้นถึงกับกล่าวว่า “เขากำลังเดินห่างออกจากถิ่นที่เคยได้รับความสุข(ประเทศอังกฤษ)แลดูไปข้างหน้าก็หวังได้แต่จะเห็นความคับแคบและอึดอัดใจ”(ความคิดของประพันธ์ที่มีต่อเมืองไทย)อีกทั้งยังเปรียบ”รักเมืองไทยเหมือนรักพ่อแม่รักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย”ความคิดของประพันธ์ยิ่งชัดเจนขึ้นเมื่อประพันธ์เปรียบว่า เมื่อเคยจากพ่อแม่ไปเห็นสิ่งสวยๆงามๆได้พบกับคนอื่นๆนอกบ้านก็ต้องเป็นธรรมดาที่ต้องรู้สึกว่าบ้านพ่อแม่คับแคบอึดอัด คุยกับพ่อแม่ก็ไม่สนุกเท่ากับคุยกับหนุ่มๆสาวๆ และเมื่ออ่านจดหมายฉบับต่อๆไปก็จะเห็นความรู้สึกขัดแย้งของประพันธ์ที่มีต่อสังคมไทยมากขึ้น เขาไม่พอใจกับประเพณี ไม่พอใจสภาพแวดล้อม ไม่พอใจในเรื่องฐานันดรศักดิ์ ซึ้งประพันธ์เห็นว่าทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องแสดงความล้าหลัง เมื่อมาพบอุไรสาวไทยผู้ทันสมัยมีแนวคิดและค่านิยมแบบตะวันตกเต็มที่ประพันธ์ประพันธ์จึงดูมีความสุขขึ้นและทั้งสองได้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนอุไรตั้งครรภ์จึงต้องแต่งงานกันโดนเร็ว เวลาผ่านไปประพันธ์ก็ประจักษ์แก่ใจว่าเขากับแม่อุไรไม่เหมาะสมกันทั้งคู่จึงต้องหย่ากันและทำให้ประพันธ์คิดได้ว่าผู้หญิงที่เหมาะกับเขานั้นไม่ใช้ผู้หญิงเชยคร้ำครึอย่างแม่กิมเน้ยหรือทันสมัยอย่างอุไรแต่เป็นผู้หญิงที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างความเป็นไทยกับความเป็นตะวันตก คือศรีสมาน
๒) อุไร เป็นสาวทันสมัยใจตะวันตก อาจกล่าวได้ว่าอุไรเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมตะวันตกด้วยความเป็นสาวทันสมัยมีพฤติกรรมแบบสาวตะวันตกไม่ห่วงเนื้อห่วงตัวชอบเต้นรำ ชอบเที่ยวกลางคืน มีผู้ชายมารุมล้อมมากมายจนกลายเป็นสาว ”ปอปูลาร์” ทำให้ประพันธ์ชื่นชมและถูกใจมากจึงได้คบหาสนิทสนมจนกระทั้งได้แต่งงานกัน หลังจากแต่งงานพฤติกรรมของอุไรก็มิได้เปลี่ยนแปลง อุไรไม่ทำหน้าที่แม่บ้านชอบข่มขู่สามี ดูถูกคนอื่น ชอบเที่ยว แม้กระทั้งหลังจากแท้งลูกอุไรก็ยิ่งเที่ยวหนักมากขึ้นกว่าเดิมและหนักขึ้นเรื้อยๆจนถึงไปค้างแรมบ้านชายอื่น ทำให้ประพันธ์ต้องขอหย่า อุไรจึงไปอยู่กับพระยาตระเวนนครซึ้งเรียกได้ว่าเป็นชายชู้ต่อมาก็หวนกลับมาหาประพันธ์อีกเพราะถูกพระยาตระเวนนครทิ้งแต่ประพันธ์ปฏิเสธ อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อแม่และแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิชพ่อค้าผ้มั่นคั้ง ดังนั้นชีวิตของอุไรแสดงให้เห็นว่าการไม่รู้จักเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกแล้วเลือกนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตแบบไทยๆนั้นเป็นอย่างไร
ฉาก ในเรื่องนี้เป็นสมัยที่คนไทยโดยเฉพาะชนชั้นสูงเมื่อได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกใหม่ๆสภาพบ้านเมืองมีการเจริญแบบตะวันตก คือมีถนนหนทาง มีการใช้หนังสือพิมพ์ในการสื่อสารผู้อ่านจึงได้เห็นการใช้ภาษาไทยที่มีคำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษมาปะปนอยู่
กลวิธีการแต่ง หัวใจชายหนุ่มเป็นนวนิยายขนาดสั้นนำเสนอในรูปแบบของจดหมายนับเป็นประเภทวรรณกรรมแบบตะวันตกเข้ามาในวงการวรรณกรรมไทย เนื้อหาในจดหมายเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตของนักเรียนนอกในยุคที่สังคมไทยกำลังปรับเปลี่ยนไปตามอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตก
๑) ก่อนอ่านจดหมายฉบับแรกทรงเขียนว่า รามจิตรติ หรือข้าพเจ้าเป็นผู้รวบรวมจดหมายเหล่านี้
๒) ตัวละครทุกตัวเป็นประเภทหลายมิติ
๓) การใช้สำนวนภาษาสอดคล้องกับลักษณะของตัวละครมีการใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษรวมทั้งคำแสลงมากมายเหมาะกับประพันธ์ผู้อยู่ในวัยหนุ่มสาว
๔) เนื้อหาในจดหมายแสดงมุมมองของประพันธ์ที่แสดงอย่างตรงไปตรงมาเหมือนจดหมายส่วนตัวทั่วไป
ที่มาของเรื่อง
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติเพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด ๑ ปี ๗ เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริเป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม” (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์เป็นเรื่องที่สะท้อนให้เห็นแนวคิดสำคัญในพระราชดำริของพระองค์ในการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาให้ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมของไทยโดยทรงสื่อพระราชดำรินั้นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างแยบยล
ความรู้เพิ่มเติม
องค์ประกอบของนวนิยาย
จากการศึกษาวิธีการและทำนองแต่งนวนิยายของนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงหลายๆท่าน สรุปได้ว่าสิ่งสำคัญของนวนิยายที่จะต้องมี6ประการดังนี้
        1) โครงเรื่อง (Plot) คือ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเรื่อง ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องเป็นเหตุผลต่อกัน โดยมีความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการต่อสู้ทำให้เรื่องดำเนินไปอย่างน่าสนใจและ ติดตาม โครงเรื่องของนวนิยายมี 2 ชนิด คือ โครงเรื่องใหญ่ (main plot) คือ แนวที่ผู้ประพันธ์ ต้องการให้เรื่องดำเนินไป ต้องมีการผูกปมเรื่องให้ซับซ้อนและคลี่คลายเงื่อนปมเหล่านี้ในตอนจบ และโครงเรื่องย่อย (sub plot) คือ เรื่องที่แทรกอยู่ในโครงเรื่องใหญ่มีความสำคัญน้อยกว่า แต่เป็นส่วนที่เพิ่มความสนุกสนานแก่เนื้อเรื่อง ฉะนั้นในนวนิยายเรื่องหนึ่งอาจมีโครงเรื่องย่อยได้หลายโครงเรื่อง
        2) ตัวละคร (Character) คือผู้ทำให้เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้แสดง พฤติกรรมต่าง ๆ ในเรื่อง ตัวละครนี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของนวนิยาย เพราะถ้าไม่มีตัวละครแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ในนวนิยายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ตัวละครของนวนิยาย มี 2 ประเภท คือ ตัวละครเอก (the major character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทสำคัญในการดำเนินเรื่องโดยตลอด หรือ เป็นศูนย์กลางของเรื่อง และ ตัวละครประกอบหรือตัวละครย่อย (the minor character) คือตัวละครซึ่งมีบทบาทในฐานะเป็นส่วนประกอบของการดำเนินเรื่องเท่านั้น แต่ก็ต้องมีส่วนช่วยเสริมเนื้อเรื่องและตัวละครสำคัญให้เด่นขึ้นด้วย
        3) บทสนทนา (Dialogue) คือ การสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละครในนวนิยาย เป็นส่วนที่ทำให้นวนิยายมีลักษณะคล้ายความจริงมากที่สุด บทสนทนาที่ดีต้องเหมาะสมกับบุคลิกภาพของตัวละคร ต้องสอดคล้องกับบรรยากาศในเรื่องและที่สำคัญต้องมีลักษณะสมจริง คือ มีคำพูดที่เหมือนกับบุคคลในชีวิตจริงใช้พูดจากัน
        4) ฉาก (Setting) คือ เวลาและสถานที่รวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ที่ช่วยบอกให้ผู้อ่านรู้ว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อใดที่ไหน ที่นั้นมีลักษณะอย่างไร นวนิยายโดยทั่วไปจะสร้างฉากให้เป็นส่วนประกอบของเรื่อง เพื่อช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเหตุการณ์และเวลาที่ทำหนดไว้ในเนื้อ เรื่อง หรือช่วยกำหนดบุคลิกลักษณะของตัวละคร ช่วยสื่อความคิดของผู้แต่ง หรือช่วยให้เรื่องดำเนินไป
        5) ความคิดเห็นของผู้แต่ง (Point of View) คือ ความคิดเห็น ทัศนะ หรือปรัชญา ของผู้เขียน ซึ่งสอดแทรกอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร หรือ คำพูดของตัวละคร ในการเสนอความคิดเห็นหรือแนวคิดนี้ ผู้แต่งจะไม่เสนอออกมาโดยตรง มักจะสอดแทรกซ่อนเร้นอยู่ในพฤติกรรมของตัวละคร 6) ทำนองแต่ง (Style) คือแบบแผนและลักษณะท่วงทำนองในการแต่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ประพันธ์ เช่น การเลือกใช้คำ ท่วงทำนองโวหาร และน้ำเสียงของผู้แต่ง (แต่งแบบแสดงอารมณ์ขัน,อ่อนโยน,ล้อเลียน)เป็นต้น

ประเภทของนวนิยาย
การแบ่งประเภทของนวนิยาย ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัว ไม่มีทฤษฎีใด ๆ มาบอกว่าใครแบ่งถูกหรือผิด บางคนก็แบ่งได้มากและละเอียดยิบ บางคนก็แบ่งเอาง่าย ๆ คร่าว ๆ ไม่มีไม่มีใครว่ากัน แต่ความสำคัญและจำเป็นของการแบ่งประเภทของนวนิยายเท่าที่เห็นแน่ ๆ ก็คือ มันง่ายต่อการทำตลาด และเหมาะสำหรับนักเขียนใหม่ ที่ควรจะรู้เอาไว้เป็นแนวในการเขียนเท่านั้น แต่ก็อีกแหละ ...เวลานักเขียนเขาเขียนนวนิยายจะไม่มัวมาขีดเส้นแบ่งหรอกว่า กำลังเขียนนวนิยายประเภทไหนอยู่ เพราะมันใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นการแบ่งในที่นี้จึงขอแบ่งกว้าง ๆ ดังนี้
นวนิยายรัก ( Romance fiction ) เป็นนวนิยายที่มีเรื่องราวของความรักความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นแกนกลางของเรื่อง จะเป็นเรื่องที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครเป็นสำคัญ นวนิยายประเภทนี้มีมากที่สุดในตลาดนวนิยาย และพล็อตเกี่ยวกับความรักก็จะสอดแทรกเข้าไปอยู่ในนวนิยายเกือบทุกประเภท
นวนิยายลึกลับ ( Mystery fiction ) จะเน้นไปที่นวนิยายประเภทสืบสวนสอบสวน หรือเป็นนวนิยายนักสืบ
นวนิยายสยองขวัญ (Horror fiction) เป็นนวนิยายที่เสนอเรื่องสยองขวัญระทึกขวัญเช่นเรื่องเกี่ยวปีศาจ สัตย์ร้ายมหึมา เรื่องผีดิบดูดเลือด แวมไพร์ หรือเรื่องของหญิงสาวบริสุทธิ์น่าสงสารตกอยู่ในการขู่เข็ญของคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
นวนิยายวิทยาศาสตร์ ( Sciences fiction ) เป็นนวนิยายที่เอาเรื่องทางวิทยาศาสตร์มาเป็นแกนสำคัญในการสร้างเรื่อง
นวนิยายมหัศจรรย์ ( Fantasy fiction) นวนิยายที่เน้นในเรื่องเวทมนตร์ ความเชื่อและศรัทธาอันก่อให้เกิดอภินิหาร เรื่องราวเหนือธรรมชาติ แต่หลัง ๆ มานี่มักจะมีการรวมกันเอาทั้งวิทยาศาสตร์และเวทมนตร์เข้าด้วยกัน กลายเป็นประเภท sciences fantasy ขึ้นมา
นวนิยายแนวกามารมณ์ ( Erotica fiction) นวนิยายที่เน้นในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก และเขียนถึงฉากกามารมณ์มากเป็นพิเศษในเรื่อง
นวนิยายที่สะท้อนปัญหาสังคม เป็นนวนิยายที่คนแต่งมุ่งแสดงหรือเปิดเผยให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองลงในเรื่อง โดยผ่านตัวละคร ส่วนทางแก้นั้นก็แล้วแต่ผู้เขียนเหมือนกันว่าจะเสนอเอาไว้ไหม หรือเพียงแต่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเท่านั้น ที่เหลือ ให้คนอ่านคิดเอาเอง
( หากคุณอ่านนวนิยายเรื่องไหนแล้ว ไม่ตรงกับประเภทที่แบ่งเอาไว้ อย่ากังวล เติมมันลงไปได้เลย )
ประวัติผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๖ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี ตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีที่ทรงครองราชย์ (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเป็นอเนกประการ ทรงพระปรีชาสามารถทั้งด้านการทหาร การปกครองการต่างประเทศ และโดยเฉาะด้านอักษรศาสตร์ พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์งานประพันธ์หลายประเภท เช่น บทละคร บทความ สารคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น และทรงใช้พระ-ราชนิพนธ์เป็นสื่อแสดงแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ
        บทพระราชนิพนธ์หลายเรื่องรับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีหรือเป็นหนังสือที่แต่งดี อาทิ หัวใจนักรบ เป็นยอดของบทละครพูดร้อยแก้ว มัทนะพาธา เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงได้รับการถวาย  พระราชสมัญญาว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้าซึ่งมีความหมายว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ และในพ.ศ.๒๕๑๕ พระองค์ยังได้ทรงรับการประกาศยกย่องจากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทรงเป็น ๑ ใน ๕ ของนักปราชญ์ไทย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
                1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
                2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก
                3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
                4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือบริบาลบรมศักดิ์โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ ประพันธ์
                5).ความ สั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
เนื้อเรื่อง
ฉบับที่ 1
                นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน เป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนาย ประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิด เมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ  ที่ท่าเรืออยู่แล้ว

ฉบับที่ 4
                จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ  ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้ง ปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ย ก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง   คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
 ฉบับที่ 5
จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรม-พานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
 ฉบับที่ 6
 จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว   ทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่  นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
 ฉบับที่ 9
                จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
ฉบับที่ 11 
ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ
ฉบับที่ 12
แม่ อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์   เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีก  เป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพรยา ตระเวนนคร แล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
 ฉบับที่ 13
ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน
พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง

ฉบับที่ 15
ประพันธ์ คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้


ฉบับที่ 17
                ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่า    ให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ
ฉบับที่ 18
 แม่ อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง   ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก

คำศัพท์น่าสนใจ
กรมท่าซ้าย                       หมายถึง    ส่วนราชการในสมัยก่อนซึ่งสังกัดกรมพระคลัง
ขุดอู่                                  หมายถึง    ปลูกเรือนตามใจผู้นอน
ครึ                                     หมายถึง    เก่า   ล้าสมัย
คลุมถุงชน                        หมายถึง         การแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดหาให้
โช                                    หมายถึง    อวดให้ดู
เทวดาถอดรูป                   หมายถึง   มีรูปร่างหน้าตาดีราวกับเทวดา
แบชะเล่อร์                        หมายถึง   ชายโสด
ปอปูลาร์                           หมายถึง    ได้รับความนิยม
พิสดาร                             หมายถึง    ละเอียดลออ   กว้างขวาง
พื้นเสีย                             หมายถึง    โกรธ
ไพร่                                 หมายถึง     ชาวบ้าน
ฟรี                                   หมายถึง      เป็นอิสระจากกฎเกณฑ์หรือการควบคลุม
เร็สตอรังต์                       หมายถึง      ภัตตาคาร   ร้านอาหาร
เรี่ยม                                หมายถึง      สะอาดหมดจด
ลอยนวล                          หมายถึง      ตามสบาย       
เล็กเช่อร์                          หมายถึง      บรรยาย
ศิวิไลซ์                             หมายถึง      เจริญ   มีอารยธรรม
สิ้นพูด                              หมายถึง      หมดคำพูดที่จะกล่าว
หดหู่                                 หมายถึง      หอเหี่ยวไม่ชื่นบาน
หมอบราบ                        หมายถึง      ยอมตามโดยไม่ขัดขืน
หมายว่า                            หมายถึง      คาดว่า
หัวนอก                             หมายถึง      คนที่นิยมแบบฝรั่ง
หัวเมือง                             หมายถึง      ต่างจังหวัด
อยู่ข้าง                               หมายถึง       ค่อนข้าง       
อินเตอเร้สต์                      หมายถึง       ความสนใจ
เอดูเคชั่น                           หมายถึง       การศึกษา
ฮันนี่มูน                            หมายถึง       การไปเที่ยวด้วยกันของคู่แต่งงานใหม่

หลวง                                หมายถึง       บรรดาศักดิ์ข้าราชการที่สูงกว่าและต่ำกว่าพระ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่องที่เรียกกันว่า ทศชาติแต่อีก 9 เรื่อง ไม่เรียกว่ามหาชาติคงเรียกแต่ อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ มงคลสูตรคำฉันท์

เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่6 ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเกทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือกาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ หัวใจชายหนุ่ม

บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ หัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “ ดุสิตสมิตเมื่อ พ..๒๔๖๔ ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน ๑๘ ฉบับ อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ นิราศนรินทร์คำโคลง

นิราศนรินทร์เป็นบทประพันธ์ประเภทนิราศคำโคลงที่โด่งดังที่สุดในยุครัตนโกสินทร์ ทัดเทียมได้กับ"กำสรวลศรีปราชญ์ "และ"ทวาทศมาส"ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้แต่งคือ นายนรินทร์ธิเบศร์(อิน) แต่งขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จ กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ไปทัพพม่าในสมัยรัชกาลที่สอง ไม่มีบันทึกถึงประวัติของผู้แต่งไว้ อ่านเพิ่มเติม


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ นิทานเวตาล

 นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ อ่านเพิ่มเติม